วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ตอนที่ 4 คอนเซปของการสร้าง Mobile Application ด้วย App Inventor

การสร้าง Mobile Application แบบ Native App  อย่าง Android  หรือการเขียนแบบ Cross platform อย่าง Phonegap หรือ Cordova  ล้วนจะแบ่ง Concept เป็นสองส่วนด้วยกันคือ ส่วนของการออกแบบและส่วนของการเขียนชุดคำสั่ง





ในการเขีย Mobile Application ด้วย App inventor ก็เช่นกัน จะต้องประกอบการด้วยสองส่วนเช่นเดียวกัน แต่ส่วนของการเขียนชุดคำสั่งนั้นจะวางต่อ Block ลักษณะการต่อจิกซอล์แทน เรียกเป็นทางการว่า Block Programing  ดังนั้นในส่วนของชุดคำสั้งจะไม่ต้องเขียนโปรแกรมนั้นเอง




แต่ยังไงซะก็ต้องอยู่บนแนวคิดของการเขียนโปรแกรม (programing concept) โดยจะลักษณะการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ( object programing) คือแต่ละออบเจ็ต(ใน app inventor  จะเรียกว่า component) จะมีองค์ประกอบสองอย่างด้วยกันคือ Preperties หรือคุณสมบัติและ Event หรือเหตุการณ์ว่าสามารถทำอะไรยังไงได้บ้าง

แล้ว  component คืออะไร ? ว่ากันง่ายๆคืออะไรก็ตามที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอ นั้นคือ Component และก็จะมี Component บางตัวที่ไม่แสดงบนหน้าจอ เช่นพวกเสียง เซ็นเซอร์ หรืออื่นๆ พวกนี้จะเรียกว่า non visible component ค่อยเรียนรู้ละกันน่ะ

เอาละ มาดูภาพประกอบเพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้นกัน



คุณสมบัติ (Preperties) คือ ลักษณะทางกายภาพของ component จากรูป อธิบายได้ดังนี้

  • Component พื้นหลัง  (screen1) มีคุณสมบัติ สีของพื้นหลังเป็นสี ดำ
  • Component ปุ่ม (button) มีคุณสมบัติคือ นำรูปภาพสวิสต์เปิดปิด แทนปุ่ม
  • Component Layout  มีการจัดตรงการของ  Layout (ค่อยอธิบายในตอนถัดไป )
ในส่วนของ Event นั้นคือเป็นการสั่งว่าแต่ละ Component ให้ดำเนินการยังไง จะทำงานอยู่ในส่วน Block mode จากรูปจากกำหนดชุดคำสั่ง เมื่อ ( when ) ปุ่ม Button1 ถูกคลิก (click)   ให้ดำเนินการ  (do) เปิดแฟลช (call openFlash)


โดยใน App Inventor ได้เตรียม component มากมายแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ถึง  9 หมวดหมู่ คลอบคลุมการ Mobile Application ได้อย่างดี



1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับความรู้เขียนต่อไปนะครับอย่าหยุดเป็นกำลังใจให้ครับ และเป็นประโยชน์กับคนคอเดียวกันครบที่ชอบเรื่องพวกนี้

    ตอบลบ